Pin It

 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode
 
การตกแต่งภาพธรรมดาให้ดูพิเศษมีอะไรมากขึ้น หนึ่งในเครื่องมือที่แนะนำเลยโดยเฉพาะน้องๆสายแต่งภาพ หรือสายคอมโพสิท นั่นก็คือ การใช้ Blending Mode นั่นเอง เจ้าเครื่องมือนี้คืออะไรล่ะ ถ้าจะกล่าวง่ายๆก็คือ การซ้อนกันของแสงและสีของเลเยอร์ภาพ สิ่งที่ตามมาก็คือ งานที่ออกมาจะมีมิติมีความแปลกตามากขึ้น ทั้งใช้สำหรับทำให้ภาพโดดเด่นขึ้น หรือปกปิดองค์ประกอบบางส่วนได้อย่างแนบเนียนอยู่ที่รูปแบบที่เราจะเลือกใช้ วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ Blending Mode ในรูปแบบต่างๆว่าใช้งานอย่างไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนศึกษาแล้วนำไปพัฒนาใช้ต่อได้
 

หลักการทำงานของ Blending Mode

คือการทำงานของโหมดเลเยอร์ในโปรแกรมแต่งภาพ ไม่ว่าจะเป็น Photoshop , Ilustrator หรือจะเป็นโปรแกรม After effect ก็ตาม โดยจะใช้ส่วนเข้ม/ส่วนสว่าง/สีกลาง ของเลเยอร์ตั้งแต่ 2 เลเยอร์ขึ้นไปมาซ้อนกัน เลเยอร์ด้านล่างเราจะเรียกมันว่า Base Color ส่วนเลเยอร์ด้านบนที่เรานำมาซ้อนจะเรียกว่า Blend Color ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เราจะเรียกมันว่า Result Color โดยปกติที่จะถูกใช้กันเป็นประจำ คือ Multiply , Screen และ Overlay
 

Mode ต่างๆใน Blending Mode

 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Normal – โหมดมาตรฐานของเลเยอร์ ไม่มีการซ้อนทับกับตัวเลเยอร์อื่น
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Dissolve – เปนการสุ่มเลือกบาง Pixel จากสองเลเยอร์มาแสดง โดยเอาส่วนที่ฟุ้งของแต่ละเลเยอร์มาแปลงเป็นจุด จะเห็นผลเมื่อตั้งค่า Opacity ต่ำ
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Darken – เทียบกันระหว่างสีของ Base Color และ Blend Color หากเลเยอร์ไหนมีต่าสีที่เข้มกว่า จะคงสีนั้นไว้ สีที่สว่างจะถูกตัดออก
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Multiply – แสดงเฉพาะส่วนสีเข้มของ เลเยอร์ด้านบนที่ซ้อน และตัดสีสว่างออก มีผลทำให้ภาพมืดลง
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Color Burn – Base Color เข้มขึ้นในขณะที่ Blend Color สว่างขึ้น สีโทนกลางจะหายไป ทำให้ภาพที่ออกมามีความคอนทราสต์มากขึ้น
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Linear Burn – ภาพจะมืดลงตาสีเข้มของ Base Color โดยตัดส่วนสว่างของภาพไป
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Darken Color – ส่วนสว่างของ Blend Color จะถูกตัด ทำให้ภาพโปร่งใสเห็นสีของ Base Color
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Lighten – ตัดสีเข้มของทั้งสองเลเยอร์ออก แล้วนำส่วนสว่างของ Base Color และ Blend Color มาผสมกันทำให้ภาพออกมาสว่างขึ้น
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Screen – ตัดความเข้มของ Base Color และ Blend Color ออก เหลือเพียงส่วนที่สว่างมาผสมกัน
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Color Dodge – นำสีสว่างของทั้ง Base Color และ Blend Color มาผสมกัน โดยตัดช่วงสีเข้มที่สุดไป
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Linear Dodge – สีส่วนมืดของ Base Color และ Blend Color จะถูกตัดออกไป แต่ในส่วนสว่างของเลเยอร์ทั้งสองจะถูกนำมาผสมกันและสว่างขึ้นอีก
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Lighter Color – ตัดเฉพาะส่วนสีมืดของ Blend Color ออกไป ทำให้เห็นทะลุส่วนของ Base Color
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Overlay – การนำสีของ Base Color และ Blend Color มาผสมกัน ส่งผลให้ภาพสีสดขึ้น โดยเฉพาะในส่วนมืดและสว่างของสองเลเยอร์
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Soft Light – การเฉลี่ยของสีระหว่างBase Color และ Blend Color โดย Blend Color จะมีความจางกว่า
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Hard Light – การเฉลี่ยของสีระหว่างBase Color และ Blend Color โดย Base Color จะมีความจางกว่า
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Vivid Light – การเฉลี่ยของสีระหว่าง Base Color และ Blend Color โดยภาพที่ออกมาจะมีการเพิ่มคอนทราสต์ขึ้น
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Linear Light – เพิ่มคอนทราสต์ให้สีส่วนเข้มของ Base Color และเพิ่มความสว่างให้ Blend Color
 
 
 

 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Pin Light – เป็นการแทนสีสว่างของสองเลเยอร์ ถ้า Blend Color มีส่วนที่สว่างกว่า 50% จะถูกแทนที่ด้วยสีของ Base Color ถ้า Blend Color มีส่วนที่มืดกว่า 50% จะถูกแทนที่ด้วยสีของ Base Color โดยส่วนที่สว่างกว่าจะไม่มีการเปล่ยนแปลง
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Hard Mix – เป็นการผสมสีเกินจริงขึ้นมาใหม่ในส่วนที่มืด แต่ในส่วนสว่างจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Difference – เป็นการผสมที่ทำใหสีที่ซ้อนกันกลายเป็นสีตรงข้าม โดยยึดจากค่าความสว่าง หากเลเยอร์ไหนสว่างกว่าอีกเลเยอร์หนึ่ง ภาพที่ออกมาจะออกไปทางสีนั้น ส่วนBlend Color จะแสดงสีตรงข้ามกับตัวเอง
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Exclusion – ผลลัพธ์ออกมาจะคล้ายกับโหมด Difference แต่ความคอนทราสต์จะน้อยกว่า
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Subtract – สีกลางถึงสว่างของสองเลเยอร์ ที่มาเจอกันจะถูกตัดออก และ Blend Color จะกลับเป็นสีตรงข้าม ส่วนสว่างจะรวมกันจนเป็นสีดำเข้ม
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Divide – Blend Color จะถูกกลับสีเป็นสีตรงข้าม จากนั้นสีส่วนเข้มหลัง Invert จะถูกตัดออกจมองทลุเห็น Base Color ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอะไร
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Hue – เลือกเฉพาะสีผสมกันโดยใช้ค่า Hue จาก Blend Color มาผสมผสานกับค่าอื่น (Saturation และ Brightness) ของ Base Color
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Saturation – เลือกความเข้มผสมกันโดยใช้ค่า Saturation จาก Blend Color มาผสมกับค่าอื่นของ (Hue และ Brightness) Base Color
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Color- เลือกสีมาผสมกันโดยใช้ค่า Hue และ Saturation จาก Blend Color มาผสมกับค่า Brightness ของ Base Color
 
 
 

ทำความเข้าใจกับ Blending Mode

Luminosity – เลือกผสมกันเฉพาะสีส่วนสว่างของทั้งสองเลเยอร์ ใช้ค่า Brightness จาก Blend Color มาผสมกับ Hue และ Saturation จาก Base Color
 
และนี่ก็คือ Blending Mode ทั้งหมดที่มี หวังว่าเมื่อได้อ่านบทความนี้จะช่วยให้สามารถนำเอา Blending Mode ไปปรับใช้กับงานออกแบบของทุกๆ คนได้นะคะ
 
 
 
 
 
 

Pin It